บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2016

เครื่องวัดความดันโลหิต

รูปภาพ
เดี่ยวนี้ผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่มักได้รับการสั่งจากแพทย์ให้วัดความดันเองที่บ้าน เพื่อจดไปให้แพทย์ดู หรือผู้ป่วยมีความตระหนักในการดูแลตัวเองมากขึ้นทำให้ เครื่องวัดความดัน แบบดิจิตอล แบบมีปลอกแขน วัดที่ต้นแขน ขายดีขึ้นมากในบ้านเราครับ ดังนั้นผมเลยคิดจะลองเขียนบทความสั้นๆเกี่ยวกับการเลือกซื้อมาให้อ่านกันเล่นๆ วิธีเลือกซื้อเครื่องวัดความดัน >>>คำนึงถึงคนที่จะใช้ก่อนเป็นอันดับแรก<<< 1.คนที่เราดูแลอยู่ หรือตัวผู้ดูแลเองสามารถแปรผลค่าวัดความดันได้เองหรือไม่ เพราะเครื่องวัดความดันส่วนใหญ่จะบอก ค่าเป็นตัวเลขเท่านั้น หากแปรผลเองไม่ได้ให้ผู้ป่วยจดไว้เสมอ หรือผู้ดูแลกลับมาเปิด บันทึกในตัวเครื่องวัดความดันย้อนหลังเพื่อดูให้ หรือซื้อเครื่องวัดความดันรุ่นที่มีความ สามารถในการแปรผล ในรูปแบบที่ผู้ใช้ไม่ต้องมีความรู้มากก็เข้าใจเช่นเสียงพูด สีหน้าจอ เป็นต้น 2.ความสามารถในการฟัง และการมอง เนื่องจากเกี่ยวกับขนาดของจอเครื่องวัดความดัน หากจอเล็กไปผู้ป่วยก็มองไม่เห็นอยู่ดี 3.ความถี่ในการใช้เครื่อง หากใช้เครื่องวัดความดันบ่อยมากๆควรเลือกรุ่นที่มี หม้อแปลงไฟ

วิธีเลือก ปรอทวัดไข้/อุปกรณ์วัดไข้

อาการไข้ ตัวร้อน จัดเป็นอาการไม่สบายที่เจอได้บ่อยมากๆกับทุกครอบครัวดังนั้นการใช้แค่มือแตะหน้าผาก จึงอาจไม่เหมาะสมเพราะความคลาดเคลื่อนสูงมาก การเลือกใช้อุปกรณ์วัดไข้ทึ่เหมาะสมกับ วัย และตำแหน่งการวัดจึงมีความจำเป็นครับ โดยช่วงอุณหภูมิปกติของคนเราตามตำแหน่งต่างๆควรมีดังนี้ครับ เมื่อวัดทางปาก           จะวัดได้ระหว่าง 36.5 - 37 °C เมื่อวัดทางทวารหนัก  จะวัดได้ระหว่าง 37 - 37.5 °C เมื่อวัดทางรักแร้          จะวัดได้ระหว่าง 36 - 36.5 °C ทีนี้เราจะมาดูว่าอุปกรณ์วัดไข้ หรือเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แต่ละแบบ เป็นอย่างไรกันบ้าง เราจะได้เลือกที่เหมาะสมกับเราครับ ปรอทวัดไข้ทางปากและรักแร้ เป็นปรอทวัดไข้ที่เจอได้บ่อยที่สุด        ข้อดี ก.หาง่าย               ข.ราคาประหยัด               ค.มีความแม่นยำดี/ต้องมีทักษะในการอ่านค่า       ข้อเสีย ก.หากผู้ใช้ หรือเด็กน้อยกัดปรอทแตกอาจเกิดพิษได้                   ข.ต้องมีทักษะในการใช้                   ค.ห้ามใช้ในผู้ป่วย/หรือเด็กที่กำลังมีอาการชักเนื่องจากอาจกัดปรอทวัดไข้จนแตกได้       วิธีใช้ ก.ตรวจสภาพปรอทก่อนใช้ว่าแตก มีรอยรั่วซึ