บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2015

กรดไหลย้อน:อาการและสาเหตุที่ผู้ป่วยควรรู้

รูปภาพ
 ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 1.โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาด (ยกเว้นจะผ่าตัดแก้ไข)  จะเป็นๆ หายๆ   อาการจะดีขึ้นหรือไม่  ไม่ได้อยู่ที่ยา  อยู่ที่การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเป็นสำคัญ 2.อาการปวดแสบร้อน  บริเวณหน้าอก, ลิ้นปี่ และคอ  เกิดจากกรดที่ไหลขึ้นมาจากกระเพาะผ่านบริเวณหน้าอก,  ลิ้นปี่และคอ  ทำให้เกิดอาการปวดแสบร้อนบริเวณดังกล่าว 3.การที่เรอ  คลื่นไส้  หรือมีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาที่อก หรือคอ   เกิดจากการที่ความดันช่องท้องเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งอาจเกิดจาก ◦รับประทานอาหารมากเกินไปในแต่ละมื้อ ◦รับประทานอาหารที่ไม่แนะนำให้รับประทานโดยเฉพาะ ๆ  อาหารที่ปรุงด้วย การผัด  และการทอดทุกชนิด (อาหารมัน จะย่อยยาก ทำให้ท้องอืดได้ง่าย),  นม (รับประทานได้เฉพาะนมไร้ไขมัน คือ FAT=0%), น้ำเต้าหู้ (ทำจากถั่ว จะทำให้เกิดแก๊สในช่องท้องมาก), ชา และกาแฟ (ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดระหว่างกระเพาะและหลอดอาหารส่วนปลาย หย่อน), ไข่ (รับประทานได้เฉพาะไข่ขาว), น้ำอัดลม (ทำให้เกิดแก๊สในช่องท้องมาก) ◦น้ำหนักตัวที่เพิ่ม หรือ เกินค่าปกติ (การที่มีน้ำหนักตัวมากจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น) ◦ท้อ

กรดไหลย้อนในเด็กทารก

รูปภาพ
ลูกเลี้ยงยากมากเลยคะ งอแงตลอดหลังทานนม ไม่ยอมนอนราบ ไอ มีเสียงหอบตลอด อาการเหล่านี้อาจเป็นอากการ"กรดไหลย้อนในทารก"ก็เป็นได้ กรดไหลย้อนในเด็ก ในทารกมีด้วยหรือ? ตอบ มีครับและมีโอกาสสูงด้วยเพราะ 1.เด็กทารกอาจมีอวัยวะต่างๆพัฒนาไม่สมบูรณ์ในกรณีนี้คือหูรูดระหว่างกระเพาะและหลอดอาหาร 2.หลอดอาหารอาจจะเคลื่อนไหวไม่สมบูรณ์ทำให้อาหารลงไปที่กระเพาะช้า 3.กระเพาะอาหารยังบีบตัวได้ไม่สมบูรณ์ทำให้อาหารลงสู่ลำไส้เล็กได้ช้า 4.เด็กส่วนมากทานนมในท่านอน ซึ่งมีโอกาสสูงที่อาหารจะไหลออกมา ที่หลอดอาหาร จะรู้ได้อย่างงไรว่าเด็กมีอาการกรดไหลย้อน ไม่ใช่เด็กเลี่ยงยาก หรือโคลิก ตอบ >>ต้องสังเกตุอาการของลูกว่าร้องตอนใหนครับ เช่นร้องเมื่อทานนมเสร็จแล้วนอน หรือมีอาการไอ เสียงแหบ แหวะนมบ่อยเกินไป และเด็กอาจไม่ยอมนอนราบเลยก็ได้ เช่นพ่อแม่ให้กินนมเสร็จจะให้ลูกนอน แต่เด็กกลับร้องให้โยเยทุกครั้งเป็นต้น กรดไหลย้อนในทารกมีวิธีการรักษาอย่างไร ตอบ จะรักษาคล้ายๆกับในผู้ใหญ่เลยครับโดยแพทย์จะเลือกยาที่ปลอดภัยในเด็กเช่นยาที่มีส่วนประกอบของยา ranitidine , lansoprazole และใช้ร่วมกับยาลดอาการปวดแสบร้

การดูแลโรคกรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ

รูปภาพ
โรคกรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ ในผู้สูงอายุเซลล์/เนื้อเยื่อทุกชนิดของร่างกายจะเสื่อมลงรวมทั้งของหูรูดนี้ ดังนั้นจึงเกิดการหย่อนยาน ทำงานประสิทธิภาพลดลง อาหารและกรดในกระเพาะอาหารจึงดันท้นย้อนกลับเข้าในหลอดอาหาร กระเพาะอาหารบีบตัวลดน้อยลงจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากสูงอายุขึ้น (อายุ 40 ปีขึ้นไป เซลล์ต่างๆทุกชนิดของร่างกายรวมทั้งของหูรูดและของกระเพาะอาหารจะค่อยๆเสื่อมลงๆ) หรือ จากการอักเสบของกระเพาะอาหาร หรือของเส้นประสาทกระเพาะอาหาร หรือจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาคลายเครียด ยาลดกรดยาบรรเทาปวดกล้ามเนื้อ หรือจากสารบางอย่างที่ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนยาน เช่น สุรา/เครื่องดื่มแอลกอ ฮอล์ ซึ่งจากการบีบตัวลดลง จึงส่งผลให้เกิดการคั่งของอาหารและกรด จึงเพิ่มแรงดันในกระ เพาะอาหาร ดันให้หูรูดนี้เปิด อาหาร/กรดจึงไหลย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ ได้แก่ อายุยิ่งสูงขึ้น โอกาสเกิดโรคนี้ยิ่งสูงขึ้น การกินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณสูง โดยเฉพาะกินมื้อเย็นก่อนนอน เพราะปริมาณอาหารยังค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร และการนอนราบยังเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร อาหารและกรดจึงไหลย้

กรดไหลย้อนทำไมไม่หายซักที

รูปภาพ
ทำไมทานยามานานแต่ไม่หายจากกรดไหลย้อนซักที? ขอบคุณรูปภาพจาก Knox "เป็นคำถามที่สั้นๆ แต่คำตอบยาวครับ เริ่มจากเราต้องดูที่สาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อน"         คนส่วนมากจะพอทราบกันว่าเกิดจาก "กรด"ไหลย้อนขึ้นมากัดหลอดอาหารทำให้รู้สึกปวด ซึ่งส่วนมากก็เป็นอย่างงั้นจริงๆ คือจะมีเฉพาะกรดจากกระเพาะขึ้นมากัด ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก จุก แน่น หรือหอบหืด ดังนั้นการใช้ยาคือมุ่งไปที่การยับยั้งไม่ให้กรดออกมานั่นเองยาที่ว่าคือ ยาโอมีพราโซล(omeprazole) + ยาเคลือบกระเพาะเช่นแอนตาซิน+ ยาอื่นๆตามแต่อาการ    แต่พอทานไปๆ คนไข้กลับไม่มีอาการดีขึ้นดังนั้นจึงมีแพทย์หลายคนออกงานวิจัยออกมาครับ ถึงสาเหตุที่ยาไม่ได้ผลนั่นก็คือ"ไม่ได้มีเฉพาะกรด"ไหลย้อนออกมากัดหลอดอาหารอย่างเดียว เท่านั้น   คำถามคือ   นอกจากกรดแล้วยังมีอะไรอีกบ้างที่สามารถกัดหลอดอาหารได้?   คำตอบ       น้ำย่อยเป๊บซิน(pepsin)ในกระเพาะอาหาร และน้ำดีจากลำไส้เล็กส่วนต้น ด้วยเหตนี้เองคนไข้หลายๆคนจึงไม่ตอบสนองต่อยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารเพราะแม้ว่า กรดจะหายไป(เกือบหมด) แต่น้ำย่อย และน้ำดีก็อาจขึ้นม