วิธีเลือก ปรอทวัดไข้/อุปกรณ์วัดไข้
อาการไข้ ตัวร้อน จัดเป็นอาการไม่สบายที่เจอได้บ่อยมากๆกับทุกครอบครัวดังนั้นการใช้แค่มือแตะหน้าผาก จึงอาจไม่เหมาะสมเพราะความคลาดเคลื่อนสูงมาก การเลือกใช้อุปกรณ์วัดไข้ทึ่เหมาะสมกับ วัย และตำแหน่งการวัดจึงมีความจำเป็นครับ
โดยช่วงอุณหภูมิปกติของคนเราตามตำแหน่งต่างๆควรมีดังนี้ครับ
เมื่อวัดทางปาก จะวัดได้ระหว่าง 36.5 - 37 °C
เมื่อวัดทางทวารหนัก จะวัดได้ระหว่าง 37 - 37.5 °C
เมื่อวัดทางรักแร้ จะวัดได้ระหว่าง 36 - 36.5 °C
ทีนี้เราจะมาดูว่าอุปกรณ์วัดไข้ หรือเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แต่ละแบบ เป็นอย่างไรกันบ้าง เราจะได้เลือกที่เหมาะสมกับเราครับ
โดยช่วงอุณหภูมิปกติของคนเราตามตำแหน่งต่างๆควรมีดังนี้ครับ
เมื่อวัดทางปาก จะวัดได้ระหว่าง 36.5 - 37 °C
เมื่อวัดทางทวารหนัก จะวัดได้ระหว่าง 37 - 37.5 °C
เมื่อวัดทางรักแร้ จะวัดได้ระหว่าง 36 - 36.5 °C
ทีนี้เราจะมาดูว่าอุปกรณ์วัดไข้ หรือเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แต่ละแบบ เป็นอย่างไรกันบ้าง เราจะได้เลือกที่เหมาะสมกับเราครับ
ข้อดี ก.หาง่าย
ข.ราคาประหยัด
ค.มีความแม่นยำดี/ต้องมีทักษะในการอ่านค่า
ข้อเสีย ก.หากผู้ใช้ หรือเด็กน้อยกัดปรอทแตกอาจเกิดพิษได้
ข.ต้องมีทักษะในการใช้
ค.ห้ามใช้ในผู้ป่วย/หรือเด็กที่กำลังมีอาการชักเนื่องจากอาจกัดปรอทวัดไข้จนแตกได้
วิธีใช้ ก.ตรวจสภาพปรอทก่อนใช้ว่าแตก มีรอยรั่วซึมหรือไม่
ข.เช็ดปรอทด้วยแอลกอฮอร์ รอจนแอลกอฮอล์แห้ง
ค.สะบัดจนปรอทลงมาต่ำกว่าตัวเลข ตัวสุดท้ายในปรอท และให้ผู้ใช้ อมปรอทไว้ใต้ลิ้น จับเวลา 60 วินาที จึงนำมาอ่านค่า โดยการเอียงปรอทให้กระทบแสงไปมาจะเห็นปรอทสะท้อนสีเงิน ดูค่าที่ตรงกับตัวเลขนั้น
เหมาะกับ เด็กอายุ 5ปีขึ้นไป และผู้ใช้ต้องมีทักษะในการอ่านค่า
2. ปรอทวัดไข้ทางก้น
ข้อดี ก.หาง่าย
ข.ราคาประหยัด
ค.มีความแม่นยำดีที่สุด/ต้องมีทักษะในการอ่านค่า
ข้อเสีย ก.หากผู้ใช้ หรือเด็กน้อยกัดปรอทแตกอาจเกิดพิษได้
ข.ต้องมีทักษะในการใช้
ค.ห้ามใช้ในผู้ป่วย/หรือเด็กที่กำลังมีอาการชักเนื่องจากอาจกัดปรอทวัดไข้จนแตกได้
ง.เด็กหรือผู้ป่วยไม่ค่อยชอบใช้วิธีนี้
วิธีใช้ ก.ตรวจสภาพปรอทก่อนใช้ว่าแตก มีรอยรั่วซึมหรือไม่
ข.เช็ดปรอทด้วยแอลกอฮอร์ รอจนแอลกอฮอล์แห้ง ทาวาสลีนที่ปลายปรอทและก้นเด็ก
ค.สะบัดจนปรอทลงมาต่ำกว่าตัวเลข ตัวสุดท้ายในปรอท และจับเด็กนอนหงายยกขาขึ้น จับเวลา 60 วินาที จึงนำมาอ่านค่า โดยการเอียงปรอทให้กระทบแสงไปมาจะเห็นปรอทสะท้อนสีเงิน ดูค่าที่ตรงกับตัวเลขนั้น
เหมาะกับ แรกเกิด-4ปีขึ้นไป และผู้ใช้ต้องมีทักษะในการอ่านค่าปรอทวัดไข้นั้น
ข้อดี ก.อ่านค่าง่าย ใช้ง่าย
ข. บางรุ่นใช้เวลาในการวัดน้อย 10วินาที
ค.มีความแม่นยำปานกลาง
ง.สามารถประยุกต์ใช้ในการวัดได้ทั้งทาง ปาก/รักแร้/ก้น (ขึ้นอยู่กับยีห้อและรุ่น)
ข้อเสีย ก.ราคาสูงกว่าปรอทวัดไข้
ข.ความแม่นยำของบางยีห้อไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นผู้ใช้ควรศึกษาและเลือกยีห้อให้ดี
วิธีใช้ เหมือนกับปรอทวัดไข้ทางปาก และทวารหนัก
เหมาะกับ แรกเกิด ขึ้นไป /และขึ้นกับรุ่น ยีห้อของ ดิจิตอลเทอร์โมมิเตอร์ด้วย(โปรดสอบถามจากร้านค้าให้ดีก่อนซื้อ)
ข้อดี ก.อ่านค่าง่าย ใช้ง่าย
ข. ใช้เวลาในการวัดต่ำมาก
ค.มีความแม่นยำปานกลาง-ดี ขึ้นกับอายุผู้ป่วย สภาพแวดล้อม และยีห้อของอุปกรณ์
ข้อเสีย ก.ราคาสูงกว่าปรอทวัดไข้ทุกๆแบบมาก
ข.ความแม่นยำของบางยีห้อไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นผู้ใช้ควรศึกษาและเลือกยีห้อให้ดี
วิธีใช้ ก.ตรวจสอบสภาพใบหูและรูหูของผู้ป่วย
ข.ดึงใบหูให้อยู่ในตำแหน่งที่ผู้วัดสามารถวัดได้สะดวก และผู้ป่วยยังคงสะดวกไม่เจ็บ
ค.นำเทอร์โมมิเตอร์สอดเข้าในรูหู และวัดซ้ำอย่างน้อย 1ครั้งมาหาค่าเฉลี่ย
เหมาะกับ 1-2ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ โรงพยาบาลหลายๆแห่งนำเทอร์โมมิเตอร์ชนิดนี้มาใช้กับคนไข้เกือบทุกช่วงอายุเพราะข้อดีเรื่องความเร็วในการอ่านค่า