โรคกรดไหลย้อนและยาบรรเทาอาการ
โรคกรดไหลย้อน เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร ไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการสำคัญ ได้แก่ อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก และมีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขม ไหลย้อยขึ้มาทางปาก ภาวะกรดไหลย้อนนี้ ถ้าเป็นเรื้อรังอาจทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลอดอาหาร ได้แก่ หลอดอาหารอักเสบ มีเลือดออกจากหลอดอาหาร และอาจทำให้ปลายหลอดอาหารตีบได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหาร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง อาจกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ในที่สุด(http://www.phyathai.com/medicalcenterdetail_article/11/500/pyt2/th)
Cr.Thaifititp
ดังนั้นถ้าดูจากสาเหตุของโรคกรดไหลย้อน ยาก็ควรจะแก้ปัญหาที่ต้นเหตเลยดังนี้
1.ยาก็ควรจะไหลขึ้นมากับกรดเพื่อมาเคลือบหลอดอาหารได้
2.ต้นเหตที่ทำให้หลอดอาหารแสบ คือกรด ดังนั้นเราต้องลดความเป็นกรด หรือเพิ่มค่า pH ให้ไปทางเป็นกลางนั่นเอง
3.ต้องใช้ยาที่ยับยั้งอาการอ๊วก อาเจียน
แต่วันนี้ผมขอกล่าวเฉพาะยาชนิดแรกนะ ถ้ากล่าวหมดคงไม่ทันมันยาวมาก
ยาชนิดที่ 1 ยาเคลือบที่มีความสามารถไหลขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ ซึ่งในปัจจุบัน ในเมืองไทยมียาที่ว่าอยู่สองยีห้อด้วยกันครับ
ยีห้อที่ 1 กาวิสคอน/gaviscon เป็นที่รู้จักกันดีเพราะมีโฆษณาแอบเซ็งนิดนึง เพราะคนจะเหมารวมหมดว่าโรคกระเพาะคือโรคกรดไหลย้อน
Gaviscon Gel,tab,ซอง รุ่นดั้งเดิม
ส่วนประกอบ
โซเดียมอัลจิเนต
โซเดียมไบคาร์บอเนต
แคลเซียมคาร์บอเนต
กลไกการออกฤทธิ์ ยาตัวนี้ สารออกฤทธิ์ คือ โซเดียมอัลจิเนต จะออกฤทธิ์ก็ตอเมื่อสารตัวนี้ไปเจอกรดในกระเพาะ
แล้วจะเปลี่ยนรูปร่างเป็นสารที่ลอยน้ำได้เหมือนแพไม้ไผ่ ดังนั้น ต้องมีกรดยานี้จึงจะออกฤทธิ์
แต่ก็มีข้อเสียใหญ่ๆที่มากับการที่มันมีเกลือโซเดียมอยู๋ในตำรับ เพราะเมื่อยาเจอกรด ยานี้จะปล่อยโซเดียมออกมา
จะไม่เหมาะกับคนเป็นโรคไต หัวใจ โรคความดันที่คุมอาการไม่ได้และ คนที่กำลังควบคุมปริมาณโซเดียม
ข้อบ่งใช้
บรรเทาอาการปวดแสบ, แสบหน้าอกเนื่องจากกรดไหลย้อน
เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นกรดไหลย้อนบ่อยๆ เป็นตลอดวัน
แม้แต่ก่อนนอน หรือคนท้องที่มีอาการนี้
ทานหลังอาหารและก่อนนอนได้
ไม่เหมาะกับ
-ผู้ป่วยที่ต้องระวังปริมาณ โซเดียมเช่นโรคไต โรคหัวใจและโรคความดันที่คุมอาการไม่ได้
-เด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี
ระวังการใช้ Gaviscon ร่วมกับ
H2-antihistaminics
Tetracyclines
digoxin
fluoroquinolone
iron salt
, ketoconazole
neuroleptics
thyroxine,
penicillamine,
?-blockers (atenolol, metoprolol, propanolol),
glucocorticoid,
chloroquine and diphosphonates.
ยีห้อที่ 2 algycon เป็นยาที่เข้ามาทำตลาดในไทยได้ไม่นาน มีส่วนประกอบหลักคือ alginic acid
คล้ายๆกับยีห้อแรก แตกต่างตรงที่ alginic ในalgycon ไม่ได้อยู่ในรูปเกลือ หมายความว่า คนกินจะได้รับ
โซเดียมต่ำลงไปด้วย (แก้ข้อเสียของยายีห้อแรก)
Aglycon รูปแบบเม็ด
ส่วนประกอบ
Alginic acid
Aluminium Hydroxide Gel
Magnesium Carbonate
ข้อบ่งใช้
อาการแสบร้อนกลางอก เกิดจากกรดและน้ำย่อยไหลย้อนไปที่หลอดอาหาร
อาการจุกแน่นเหมือนอาหารไม่ย่อย หลังรับประทานอาหาร
อาการแสบระคายเคืองหลอดอาหารเมื่อกลืนหรือดื่มเครื่องดิ่ม
อาการไอเรื่อรัง (ระคายเคือง)ที่เกิดจากกรดไหลย้อน
เหมาะกับคนที่เพิ่งทานอาหารแล้วปวดแสบ หรือมีอาการโรคกระเพาะ(ยานี้กินหลังอาหารได้)
คนท้องทานได้
ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่จำกัดการได้รับ โซเดี่ยม( ทานยานี้ได้เยอะกว่า Gaviscon เพราะ
สูตรนี้มีโซเดี่ยมต่ำกว่า
Gaviscon มีโซเดียม(ใน 10ml)มี 141mg
Algycon มีโซเดี่ยม(1เม็ด) 9.2mg
ปัจจุบันมี ข้อมูลออกมาเปรียบเทียบยา สองยีห้อนี้ค่อนข้างเยอะ ผมจะสรุปให้ดูเป็นตารางดังนี้นะครับ
โรคกรดไหลย้อน | Algycon | Antacid | Gaviscon |
ระยะเวลาทียาเริ่มออกฤทธ์ | 5นาที | 5นาที | 5นาที |
15นาที (100%)
| 15นาที (100%) | ||
กลไกการออกฤทธิ์ | ป้องกันกรดและน้ำย่อยไหลย้อน | ลดความเป็นกรดในกระเพาะ หรือเพิ่มpH นั้นเอง | ป้องกันกรดไหลย้อน |
ปกป้องผนังทางเดินอาหาร | ปกป้องผนังทางเดินอาหาร | ||
บดความเป็นกรดในกระเพาะ
|
บดความเป็นกรดในกระเพาะ
| ||
รักษาภาวะกรดไหลย้อนจากน้ำย้อยอื่นๆเช่น | ป้องกันกรดไหลย้อน | ไม่สามารถรักษาได้ | ป้องกันกรดไหลย้อน |
น้ำดีสำหรับย่อยไขมัน |
ปกป้องผนังทางเดินอาหาร
|
ปกป้องผนังทางเดินอาหาร
| |
เป็บซินสำหรับย่อยโปรตีน | |||
ความปลอดภัยในโรคเรื้อรัง เช่น ความดัน | มีความปลอดภัยสูงเพราะมีเกลือ | ไม่มีข้อมูลควรระวัง | มีปริมาณเกลือสูงกว่าสูตร |
โรคไต ผู้ป่วยที่ควบคุมเกลือในเลือด | แค่ 9.2mg/เม็ด | คือ 141 mg/เม็ดหรือซอง | |
ปฎิกริยากับยารักษาโรคกระเพาะกลุ่ม | ปริมาณกรดในกระเพาะไม่มีผล | ไม่มีข้อมูล | ต้องอาศัยปริมาณกรดใน |
PPI เช่นยีห้อ miracid, nexium | กระเพาะจึงจะออกฤทธิ์ได้ | ||
ขนาดในการใช้ | 1-2เม็ด | 2 ช้อนโต๊ะ | 1-2 เม็ด |
หรือ 1-2 ซอง | |||
ช่วงเวลาในการใช้ | หลังอาหาร เมื่อมีอาการ | เมื่อมีอาการ | หลังอาหาร เมื่อมีอาการ |
ข้อบ่งใช้จาก อ.ย.ไทย | 1.โรคกรดไหลย้อน | 1.บรรเทาอาการที่เกิดจากแผลในกระเพาะอันเนื่อง | 1.อาการกรดไหลย้อน |
2.อาการแสบร้อนกลางอก | มาจากมีปริมาณกรดมาก | 2.อาหารไม่ย่อยจากกรดไหลย้อน | |
3.หลอดอาหารอักเสบ | 2.อาการท้องอืด และอาการอาหารไม่ย่อยเนื่องจาก | ||
4.อาหารไม่ย่อยเนื่องจากกรดไหลย้อน | กรดในกระเพาะสูง | ||
5.ภาวะไส้เลื่อนกระบังลม |