การดูแลโรคกรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ

โรคกรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ
ในผู้สูงอายุเซลล์/เนื้อเยื่อทุกชนิดของร่างกายจะเสื่อมลงรวมทั้งของหูรูดนี้ ดังนั้นจึงเกิดการหย่อนยาน ทำงานประสิทธิภาพลดลง อาหารและกรดในกระเพาะอาหารจึงดันท้นย้อนกลับเข้าในหลอดอาหาร



กระเพาะอาหารบีบตัวลดน้อยลงจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากสูงอายุขึ้น (อายุ 40 ปีขึ้นไป เซลล์ต่างๆทุกชนิดของร่างกายรวมทั้งของหูรูดและของกระเพาะอาหารจะค่อยๆเสื่อมลงๆ) หรือ จากการอักเสบของกระเพาะอาหาร หรือของเส้นประสาทกระเพาะอาหาร หรือจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาคลายเครียด ยาลดกรดยาบรรเทาปวดกล้ามเนื้อ หรือจากสารบางอย่างที่ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนยาน เช่น สุรา/เครื่องดื่มแอลกอ ฮอล์ ซึ่งจากการบีบตัวลดลง จึงส่งผลให้เกิดการคั่งของอาหารและกรด จึงเพิ่มแรงดันในกระ เพาะอาหาร ดันให้หูรูดนี้เปิด อาหาร/กรดจึงไหลย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ ได้แก่

  • อายุยิ่งสูงขึ้น โอกาสเกิดโรคนี้ยิ่งสูงขึ้น
  • การกินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณสูง โดยเฉพาะกินมื้อเย็นก่อนนอน เพราะปริมาณอาหารยังค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร และการนอนราบยังเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร อาหารและกรดจึงไหลย้อนกลับเข้าหลอดอาหารได้ง่าย
  • บุหรี่ เพราะมีสารพิษ เพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร และอาจทำให้การบีบตัวของกระเพาะอาหารลดลง
  • โรคเรื้อรังต่างๆที่มีผลต่อการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งของกระเพาะอาหารและของเส้น ประสาทกระเพาะอาหารเช่น โรคเบาหวาน และโรคที่ส่งผลให้มีการไอเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง
  • โรคอ้วน เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องสูงขึ้น ความดันในกระเพาะอาหารจึงสูงขึ้น
  • โรคของกะบังลม ซึ่งมักเป็นแต่กำเนิด ทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมหย่อนหรือมีช่อง กระเพาะอา หารจึงดันเข้าไปอยู่ในช่องอก ส่งผลให้มีอาหารค้างในกระเพาะอาหาร รวมทั้งเพิ่มความดันในกระเพาะอาหารด้วย
  • โรคกล้ามเนื้อ และ/หรือ ของเนื้อเยื่อต่างๆ (พบได้น้อย) ส่งผลให้กล้ามเนื้อ และ/หรือเนื้อเยื่อหลอดอาหารและกระเพาะอาหารทำงานด้อยประสิทธิภาพลง

อาการของโรค

  • แสบร้อนกลางอก และอาจรุนแรง
  • เรอบ่อยทั้งที่ยังไม่ได้ทานอะไร เพราะมีกรดมาก
  • ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่เรื้อรัง
  • สะอึกบ่อยเจ็บคอเรื้อรัง ไอเรื้อรัง
  • มีรสเปรี้ยวในช่องปาก และอาจอาเจียน
  • การดูแลตนเอง
  • การปรับรูปแบบการดำเนินชีวิต (Lifestyle Modification)
  • นอนหัวสูง
  • การปรับเปลี่ยนอาหาร โดยเลือกทานเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ
  • ไม่ทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการทานน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว มะเขือเทศ ชา กาแฟ สุรา น้ำอัดลม ชอคโกแลต
  • งดสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ลดความดันของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหาร เช่น ยาในกลุ่ม anticholinergics, sedative, calcium channel blocker.(แล้วแต่แพทย์จะพิจจารณาอีกที)

การรักษาโดยการใช้ยา

กลไกยากลุ่มนี้คือเมื่อผู้ป่วยกรดไหลย้อนทานยาเข้าไปตัวยากรดอัลจินิก จะรวมตัวของของเหลวในกระเพาะอาหารเกิดเป็นแพ ลอยอยู่เหนือของเหลวในกระเพาะอาหารทำให้ยาสามารถไปถึงแผลในหลอดอาหารก่อน สารอื่นๆมีฤทธิ์ช่วยลดความเจ็บปวด ทีสำคัญเมื่อตัวยาจับตัวเป็นแพดีแล้วจะช่วยบล๊อกไม่ให้ของเหลวในกระเพาะไหลออกสู่หลอดอาหารได้ ที่สำคัญยากลุ่มนี้ปลอดภัยมากแม้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์ แต่ต้องระวังบ้างในคนที่แพทย์สั่งควบคุมเกลือโซเดียม โดยตำรับalgycon จะมีโซเดียม 9.2mg /เม็ด ตำรับยา gaviscon จะมีโซเดียม 142mg/10ซีซี(รูปแบบน้ำ)

  • ยาในกลุ่ม H2 receptor Antagonist
กลไกหลักในการออกฤทธิของยากลุ่มนี้คือ ลดการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร โดยไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความดันของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย โดยยาแต่ละตัวในกลุ่มสามารถใช้ได้ผลไม่แตกต่างกันในขนาดยาที่เท่ากัน นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงน้อยใช้ได้ในทุกอายุของผู้ป่วย

  • ยากลุ่ม Prokinetic
โดยทั่วไป ยาที่ปรับการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร โดยเฉพาะยาในกลุ่มที่เพิ่มความดันของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย เพิ่มความสามารถของหลอดอาหารในการเคลียร์กรด หรืออาหาร ตลอดจนทำให้ gastric emptying time สั้นลง ดูเหมือนจะเป็นยาที่ดีที่สุดในการรักาภาวะกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นการแก้ไขที่สาเหตุหลักโดยตรง แต่ยาในกลุ่มนี้ที่ใช้บ่อยในปัจจุบัน เช่น metoclopramide และ cisapride ยังให้ผลไม่น่าพอใจ โดยพบว่าการใช้ cisapride 40 มก./วัน ได้ผลเท้ากับการใช้ยากลุ่ม H2 receptor Antagonist
ผลข้างเคียงสำคัญของ metoclopramide คือ ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ซึม สับสน หรือมีอาการของ extrapyramidal ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ ขระที่ cisapride ไม่ผ่าน blood-brain barrier จึงไม่เกิดผลข้างเคียงดังกล่าว จึงมีการใช้แพร่หลายกว่า metoclopramide อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงของ cisapride ที่พบได้ เช่น ท้องเสีย พบได้ประมาณ 10% คลื่นไส้อาเจียน หรือในกรณีที่ใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะกลุ่ม macrolides (เช่น erythromycin) อาจเกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรงในระบบหัวใจ เช่น QT interval prolongation หรือ ventricular arrhythmia ได้
ผลการรักษาของยากลุ่มนี้ต่อภาวะกรดไหลย้อนนอกหลอดอาหารยังมีข้อมูลไม่มากนัก อย่างไรก็ตามจากการศึกษาของ Khoury และคณะ เปรียบเทียบการใช้ cisapride 40 มก./วัน กับยาหลอก ในผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง พบว่ากลุ่มที่ได้ cisapride สามารถเพิ่ม FEV, และ FVC ได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกอย่างมีนับสำคัญ แต่อาการโดยทั่วไปของผู้ป่วยและผลการตรวจวัดความเป็นหรดในหลอดอาหาร 24 ชั่วโมงทั้งสองกลุ่มให้ผลไม่แตกต่างกัน

  • ยาในกลุ่ม proton pump inhibitors
"ยานี้สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดีกว่ายาในกลุ่มอื่น" ทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้รวดเร็ว
โดยทั่วไป ยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิได้ดีที่สุดเมื่อให้ทานก่อนอาหาร ในกรณีที่ต้องใช้มากกว่าวันละหนึ่งครั้ง นิยมให้ทานเป็นก่อนอาหารเช้าและเย็น ยากลุ่มนี้มึวามปลอดภัยในการใช้สูง ผลข้างเคียงพบได้น้อยมากที่มีรายงาน เช่น ปวดศีรษะ ท้องเสีย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยากลุ่มนี้ถูกผลิตออกมาใช้ได้ไม่นาน ความปลอดภัยของการใช้ยาในระยะยาวยังต้องการการศึกษาและเฝ้าติดตามต่อไป
และแม้ว่ายากลุ่มนี้ในขนาดที่สูง จะสามารถลดกรดได้ดีกว่ายาในกลุ่มอื่นชัดเจน แต่พบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะกรดไหลย้อนที่ทานยาวันละ 2 ครั้ง ยังมัชาวงเวลาที่ pH ในกระเพาะลดลงต่ำกว่า 4 ได้อย่างน้อย 1 ชั่วโมงในระหว่างนอน และในช่วงเวลาที่ pH ลดต่ำลงนี่เอง ผู้ป่วยจะมีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนขึ้นมาได้ 30-50%ในผู้ป่วยที่เป็นปัญหาเหล่านี้อาจต้องใช้ขนาดยาสูงขึ้นมากกว่าคนทั่วไป หรือใช้ยาร่วมกันมากกว่าหนึ่งกลุ่ม อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลยืนยันถึงผลดีที่จะได้เพิ่มขึ้น ยังคงต้องการการศึกาเพิ่มเติมต่อไป

     ดังนั้นหากที่บ้านใครมีผู้สูงอายุก็ควรเอาใจใส่ท่านตั้งแต่เรื่องอาหารการกิน การเดิน การนั่ง นอน เพราะทุกท่วงท่าของท่านอาจหมายถึงภาวะโรคได้
ขอบคุณครับ
   
ที่มา :
http://www.siamhealth.net
http://review-ya.blogspot.com

Credit Pic
http://jjvirgin.com/4446/9-steps-reduce-acid-reflux-antacids/

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิวยา Dienogest สำหรับรักษาโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่

มาทำความรู้จักยาสำหรับแก้ปวดประจำเดือนกันดีกว่า

กลไกแสดงการแก้อาการแสบร้อนกลางอกของยาอัลไกคอน