ยาเด็กซ์โตรคืออะไร อันตรายใหม และบำบัดอย่างไร

                  Dextro - ThailandPublished 1:00a.m. TH MAY. 13, 2018 

Dextro มีชื่อยาว่า dextromethorphan หรือวัยรุ่นมักเรียกว่ายาเด็กซ์โต เป็นยาลดอาการไอมักจ่ายในคนที่มีอาการหวัดและมีไอร่วม ปกติแล้วปริมาณที่จะจ่ายอยู่ที่ 5-15 มก./ ครั้ง เป็นขนาดที่ปลอดภัย ไม่ค่อยมีผลข้างเคียงอะไร จึงทำให้ยานี้เป็นยาที่สามารถขาย/จ่ายได้โดยที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์

แต่จากปัญหายา 4x100 ระบาดคือนำน้ำต้มใบกระท่อม ผสมยาคลายกังวลเช่น alprazolam (วัยรุ่นเรียก โซแลม) ผสมยาแก้ไอโดยมักจะใช้ในขนาดยาที่สูงมากๆ จนทำให้คนกินเกิดอาการมีความสุข

กลไกที่ทำให้ยา dextro มีฤทธิ์กดอาการไอ

เนื่องจากยา dextro เป็นยาที่นักวิทยาศาสตร์สังเคราะห์ขึ้นโดยเลียนแบบโครงสร้างทางเคมีของยากลุ่ม โคเดอีนที่แพทย์ทราบกันอยู่แล้วว่าแก้ไอได้แต่ข้อเสียคือมันเสพติดได้ง่าย นักวิทยาศาสตร์เลยพยายามลบส่วนที่ทำให้ติดออกจากโครงสร้างเคมี บู้ม สำเร็จออกมาเป็น dextro โดยกลไกการกดไอยังคงไปออกฤทธิ์ที่ศูนย์ควบคุมการไอที่สมองเหมือนโคเดอีนแต่ไม่มีฤทธิ์เสพติด กดการหายใจ

อันตรายจากการใช้ยา dextro เกินขนาด

โดยปกติแล้วยา dextro เป็นยาที่ปลอดภัยครับหากใช้ในปริมาณที่กำหนดคือราวๆ 15-30 มก. แต่หากใช้ในปริมาณ 10 เท่าของปกติ เช่นกินยา dextro ครั้งเดียวมากกว่า 1ขวด หรือ 10เม็ด ก็จะได้ตัวยาปริมาณ 360-1500 มก.ก็จะทำให้เกิดอาการเหมือนกินยา K และยา dextro จะออกฤทธิ์อยู่ได้ประมาณ 6 ชั่วโมงโดยมีอาการพิษเฉียบพลันดังนี้ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ง่วง กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน กระวนกระวาย สั่น ชัก ปวดศรีษะ เซลสมองถูกทำลายถาวร หมดสติ และอาจตายได้ (ปกติผู้เขียนจะสังเกตุพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอาการอีกอย่างคืออ่านหนังสือไม่ออกทั้งๆที่เคยอ่านออก)


วิธีการรักษาหากพบว่าบุคคลใกล้ชิดท่านติดยา dextro

การรักษาอาจทำได้โดยวิธีแบบใช้ยา และไม่ใช้ยาเพราะผู้เสพยากลุ่มนี้การรักษายังไม่ยากหากรักษาแต่เนิ่นๆโดยมีจุดมุ่งหมายในการรักษาดังนี้

จุดมุ่งหมายในการบำบัดรักษา
1. มีระยะไม่ใช้ยานานที่สุดเท่าที่จะทำได้
2. มีระยะเวลาที่กลับไปใช้ใหม่ สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. มีชีวิตประจำวันปกติสุข
4. มีอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้
5. มีทักษะชีวิตในการจัดการกับปัญหาต่างๆได้โดยไม่พึ่งยา
6. ไม่สร้างความเดือนร้อนแก่ครอบครัวและสังคม

ขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ติดยา dextro จะเหมือนกับยาเสพติดอื่นๆดังนี้(รักษาที่ศูนย์บำบัด)


1. ขั้นเตรียมการก่อนบำบัดรักษา (Pre – Admission) เพื่อศึกษาประวัติภูมิหลังของผู้ติดยาเสพติดทั้งจากผู้ขอรับการรักษา และครอบครัว
2. ขั้นถอนพิษยา (Detoxification) เป็นการบำบัดรักษาอาการทางกายที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด ขั้นที่ช่วยให้ผู้ป่วยหยุดยา บรรเทาอาการถอนยาที่ผู้ติดยาเสพติดอาจมี พร้อมทั้งให้การรักษาความผิดปกติทางกายและจิตใจอื่นๆที่พบ
3. ขั้นการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation) เป็นการบำบัดรักษาเพื่อปรับเปลี่ยน
ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ พฤติกรรม เพื่อให้รู้จักตนเอง และมีความเข้มแข็งในจิตใจเพื่อให้ผู้รับการบำบัดมีความเชื่อมั่นในการกลับไปดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยไม่หวนกลับไปเสพซ้ำอีก

4. ขั้นติดตามดูแล / คืนสู่สังคม (After – Care) เป็นการติดตามดูแลผู้เลิกยาเสพติดที่ได้ผ่านการบำบัดครบ 3 ขั้นตอนข้างต้นแล้ว เพื่อให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหาและให้กำลังใจผู้เลิกยาเสพติด ให้ดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคมได้ยิ่งขึ้นซึ่งการบำบัดทั้ง 4 ขั้นตอนบางขั้นตอนอาจทำไปพร้อมๆกัน

หากท่านพบเจอบุคคลใกล้ชิดมีปัญหาโปรดรีบปรึกษาแพทย์และโรงพยาบาลใกล้บ้านนะครับ

หรือสายด่วน  1165  


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาทำความรู้จักยาสำหรับแก้ปวดประจำเดือนกันดีกว่า

รีวิวยา Dienogest สำหรับรักษาโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่

ข้่อดี ข้อเสีย ของมินิดอซ