วงแหวนคุมกำเนิดชนิดสอดช่องคลอด



  ใครเป็นแบบนี้บ้างครับ
·         ไม่ชอบกินยา
·         ไม่ชอบฉัดยา
·         ไม่ชอบฝังยาใต้ผิวหนัง
·         ไม่ชอบถุงยางอนามัย

ผมเจอบ่อยๆครับที่ร้านยา ต้องยอมรับว่าแต่ละคนก็มีข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป
การมีทางเลือกใหม่ๆสำหรับการวางแผนครอบครัวก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีใช่ใหมครับ
"วงแหวนคุมกำเนิดชนิดสอดช่องคลอด" อาจจะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้หญิงที่ต้องการคุมกำเนิดแต่ไม่สะดวกกับการต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดที่เคยรู้จักมาก่อน


วงแหวนคุมกำเนิด เป็นวงแหวนพลาสติกใส(ดังรูป)
มีตัวยาผสมอยู่ในวงแหวน เป็นตัวยาเดียวกับที่อยู่ในยาคุมกำเนิดยีห้อ marvelon, mercilon และอื่นๆ อีกหลายยีห้อ

ตัวที่ 1 ชื่อยาว่า Etonogestrel (อีโทโนเจสเทรล) ชื่ออาจจะยากไปหน่อยสรุปง่ายๆว่ามันยาเดียวกันกับโปรเจสตินที่ชื่อว่า desogestrel ที่อยู่ใน mercilon(ไม่ทำให้อ้วนขึ้น)  มีกลไกการคุมกำเนิดโดยการยับยั้งไม่ให้ไข่ตก และเพิ่มการสร้างเมือกที่ปากมดลูกทำให้อสุจิผ่านเข้าไปได้ยากมากๆ

// ต่างกันที่ desogestrel เมื่อถูกกระเพาะอาหารย่อยแล้วดูดซึมเข้ากระแสเลือดจะยังไม่ออกฤทธิ์ เลือดต้องนำยา desogestrel ไปที่ตับ     จากนั้นตับจะย่อยจนกลายเป็นยาชื่อ Etonogestrel นั่นเอง //
ตัวที่ 2 ชื่อยาว่า ETHINYL ESTRADIOL อันนี้ก็เอสโตรเจนทั่วๆไปเจอได้เกือบจะทุกยาคุมครับ

ประสิทธิภาพการคุมกำเนิด
หากใช้อย่างถูกต้องแปะๆนะครับจะมีโอกาสพลาดตั้งครรภ์แค่ 0.3% เท่านั้นเอง แต่ก็นะคนเรามันไม่ตามหนังสือแปะๆหรอก ผลลัพธ์ก็ออกมาพลาดที่ประมาณ 9% คิดง่ายๆก็ราวๆ 1คนใน 11 คนครับ จัดอยู่ในระดับปานกลางพอๆกับกินยาคุมกำเนิดครับดังนั้นไม่ต้องคิดมากใครอยากใช้ก็ฝึกการใช้ให้ชำนาญ อิอิ ผลลัพธ์ออกมาจะดีเอง


วิธีการใช้ :คล้ายกับการกินยาคุมคือสวมใส่ในวันแรกที่ประจำเดือนมา ใช้ทั้งหมด 21วัน ถอดออกแล้วนับ 7 วัน แล้วใส่อันใหม่

วิธีใส่วงแหวนคุมกำเนิด จะคล้ายๆการใช้ยาสอดช่องคลอด

ขั้นตอนการใส่วงแหวนคุมกำเนิด : (ดังรูป)
1. ให้เริ่มใส่ห่วงอนามัยในวันแรกของการมีเลือดประจำเดือนออกมา
2. ล้างมือให้สะอาด ฉีกซองออก หยิบวงแหวนออกมา
3.บีบวงแหวนเข้าหากันด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ แล้วจึงค่อย ๆ สอดวงแหวนเข้าไปในช่องคลอด นิ้วชี้ดันเข้าไปให้สุด หากใส่แล้วรู้สึกระคาย ให้ดันวงแหวนให้ลึกเข้าไปในช่องคลอดอีก
ในการใส่วงแหวนคุมกำเนิดครั้งแรกนั้นจะยังไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ทันที
ดังนั้นในช่วง 7 วันแรกของการใส่วงแหวน จึงต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นร่วมด้วยเสมอ เช่น การสวมถุงยางอนามัย หรืองดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงระยะนั้น




วิธีการถอดวงแหวนคุมกำเนิด
ใช้นิ้วชี้หรือนิ้วกลางสอดเข้าไปเกี่ยววงแหวนคุมกำเนิดออกมาตามภาพ


หากลืมใส่วงแหวนควรทำอย่างไร  :
 
กรณีที่1 ถอดห่วงออกต่ำกว่า 24 ชั่วโมง ให้ล้างวงแหวนด้วยน้ำให้สะอาดและรีบใส่กลับไปทันที

กรณีที่ 2  ถอดออกเกิน24ชั่วโมง รีบใส่กลับเข้าไปทันทีที่จำได้ และใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นร่วมด้วยเป็นระยะเวลา 7 วัน เช่นถุงยางอนามัย No No ยาคุมฉุกเฉินนะครับ

กรณีที่ 3 ถอดวงแหวนออกมากกว่า 24 ชั่วโมงในระหว่างอาทิตย์ที่ 3ให้รีบใส่ใหม่ทันทีและนับไปอีก 3สัปดาห์ ในระหว่างนี้คาดว่าส่วนใหญ่จะมีเลือดมาเป็นจุดๆ หยดๆได้ครับ

กรณีที่ 4   ลืมใส่วงแหวนในรอบใหม่ หลังจากที่เว้นช่วงไม่ได้ใส่มาเป็นเวลา 7วัน ให้รีบใส่วงแหวนเข้าไปทันทีที่จำได้ และใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นร่วมด้วยเป็นระยะเวลา 7 วัน เช่น การสวมถุงยางอนามัย หรืองดการมีเพศสัมพันธุ์

ผลข้างเคียงของวงแหวนคุมกำเนิด
 
(ไม่ใช่แพ้ยา ผมขอยกตัวอย่างเช่นกินยาลดน้ำมูกไหลบางอย่างแล้วง่วง อันนี้คือผลข้างเคียง นะจะ)
ผู้หญิงส่วนมากที่ใช้วงแหวนคุมกำเนิดจะไม่รู้สึกผิดปกติไปจากเดิม จะมีบางคนที่มีอาการคลื่นไส้ เวียนหัว ตึงคัดเต้านม(คล้ายๆยาคุมกำเนิดชนิดกิน) ได้บ้าง ส่วนมากอาการเหล่านี้หากทนไหวแล้วใช้ต่อจะค่อยๆลดลงในประมาณ 1-2 เดือน แต่หากใครทนไม่ไหวจริงๆสามารถปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมได้ครับเพื่อเปลี่ยนวิธีคุมฯ ก็ว่ากันไป

ข้อดี
1.เป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่มออกฤทธิ์เฉพาะที่ดังนั้นการรบกวนร่างกายส่วนอื่นๆก็น้อยกว่ายาคุมฯชนิดกิน
2.ตัววงแหวนคุมกำเนิดถูกออกแบบให้ปล่อยปล่อยตัวยาออกมาแค่พอใช้ ตามทฤษฎีจะทำให้ร่างกายไม่รู้สึกถึงการมีอยู่ของตัวยาดังนั้นจึงสามารถลดผลข้างเคียงได้ดีกว่าการกินยาเม็ดคุมกำเนิด
3.ผู้ใช้สามารถใส่ และถอดได้ด้วยตัวเอง
4.สามารถทดแทนยาเม็ดคุมกำเนิดได้ในคนที่ชอบลืมกินยา
5.เนื่องจากในวงแหวนมีส่วนประกอบของฮอร์โมนที่มีความจำเป็นสำหรับช่องคลอดทำให้ช่องคลอดไม่แห้ง และป้องกันการตกขาวได้ในบางกรณ๊

ข้อเสีย
1.ราคาแพงหากเทียบกับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดกิน
2.ผู้หญิงที่เริ่มใช้ใหม่ๆอาจไม่เคยชินการวิธีการใช้
3.ในผู้หญิงบางรายอาจมีอาการระคายเคืองได้

4. แน่นอนว่าไม่สามารถป้องกันโรคที่ติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธุ์ได้

ยาก็เหมือนเหรียญครับมีสองด้านเสมอดังนั้นก่อนใช้ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาทำความรู้จักยาสำหรับแก้ปวดประจำเดือนกันดีกว่า

รีวิวยา Dienogest สำหรับรักษาโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่

ข้่อดี ข้อเสีย ของมินิดอซ